ทรงศักดิ์ ทองศรี
ทรงศักดิ์ ทองศรี | |
---|---|
ทรงศักดิ์ ในปี พ.ศ. 2562 | |
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย | |
เริ่มดำรงตำแหน่ง 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2562 (5 ปี 123 วัน) ดำรงตำแหน่งร่วมกับ นิพนธ์ บุญญามณี นริศ ขำนุรักษ์ (พ.ศ. 2562–2566) ชาดา ไทยเศรษฐ์ เกรียง กัลป์ตินันท์ (พ.ศ. 2566–2567) ซาบีดา ไทยเศรษฐ์ ธีรรัตน์ สำเร็จวาณิชย์ (พ.ศ. 2567–ปัจจุบัน) | |
นายกรัฐมนตรี | ประยุทธ์ จันทร์โอชา เศรษฐา ทวีสิน แพทองธาร ชินวัตร |
รัฐมนตรีว่าการ | อนุพงษ์ เผ่าจินดา อนุทิน ชาญวีรกูล |
ก่อนหน้า | สุธี มากบุญ |
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม | |
ดำรงตำแหน่ง 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551 – 9 กันยายน พ.ศ. 2551 (0 ปี 216 วัน) ดำรงตำแหน่งร่วมกับ อนุรักษ์ จุรีมาศ | |
นายกรัฐมนตรี | สมัคร สุนทรเวช |
ก่อนหน้า | สรรเสริญ วงศ์ชะอุ่ม |
ถัดไป | โสภณ ซารัมย์ วราวุธ ศิลปอาชา |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 20 เมษายน พ.ศ. 2501 อำเภอประโคนชัย จังหวัดบุรีรัมย์ ประเทศไทย |
พรรคการเมือง | ประชาธิปัตย์ (2523–2534) สามัคคีธรรม (2534–2535) ชาติไทย (2535–2539) ความหวังใหม่ (2539–2543) ไทยรักไทย (2543–2550) พลังประชาชน (2550–2551) ภูมิใจไทย (2556–ปัจจุบัน) |
คู่สมรส | แว่นฟ้า ทองศรี |
ยศที่ได้รับการแต่งตั้ง | |
รับใช้ | ไทย |
สังกัด | กองอาสารักษาดินแดน |
ยศ | นายกองเอก[1] |
บังคับบัญชา | กองอาสารักษาดินแดน |
ทรงศักดิ์ ทองศรี (เกิด 20 เมษายน พ.ศ. 2501) ปัจจุบันดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ[2] สมาชิกกลุ่มเพื่อนเนวิน อดีตรองหัวหน้าพรรคภูมิใจไทย[3] อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม ในรัฐบาลสมัคร สุนทรเวช อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดบุรีรัมย์ 7 สมัย
ประวัติ
ทรงศักดิ์ เกิดเมื่อวันที่ 20 เมษายน พ.ศ. 2501 ที่ อำเภอประโคนชัย จังหวัดบุรีรัมย์ เป็นบุตรของ สุนีย์ ทองศรี (เสียชีวิตแล้ว) สำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษา จากโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี นิติศาสตรบัณฑิต จากมหาวิทยาลัยรามคำแหง ระดับปริญญาโท รัฐประศาสนศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชียและระดับปริญญาเอก รัฐประศาสนศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย[4]สมรสกับ นางแว่นฟ้า ทองศรี นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดบึงกาฬ
ในวันที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2551 ศาลรัฐธรรมนูญมีมติให้ยุบพรรคพลังประชาชน และเพิกถอนสิทธิทางการเมืองของคณะกรรมการบริหารพรรคคนละ 5 ปี ซึ่งในขณะนั้นนายทรงศักดิ์ได้ดำรงตำแหน่งเป็นกรรมการบริหารพรรคพลังประชาชน จึงถูกเพิกถอนสิทธิทางการเมือง 5 ปีเช่นเดียวกับคณะกรรมการบริหารพรรคคนอื่นอีก 36 คน[5]
การทำงาน
ทรงศักดิ์ ทองศรี เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดบุรีรัมย์ เคยดำรงตำแหน่งผู้ช่วยเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ผู้ช่วยเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษา ประธานคณะกรรมาธิการการท่องเที่ยว สภาผู้แทนราษฎร และเป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม ในรัฐบาลสมัคร สุนทรเวช ต่อมาในปี พ.ศ. 2551 ถูกตัดสิทธิ์ทางการเมืองเป็นเวลา 5 ปี เนื่องจากเป็นกรรมการบริหารพรรคพลังประชาชน[6]
ทรงศักดิ์ เป็นหนึ่งในสมาชิก ส.ส.กลุ่ม 16[7]
ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2557 เขาได้สมัครรับเลือกตั้งในระบบบัญชีรายชื่อ สังกัดพรรคภูมิใจไทย ลำดับที่ 3[8] และในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2562 ได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ พรรคภูมิใจไทย ลำดับที่ 6[2]
ในปี 2562 ได้รับแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย ในรัฐบาลพลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา[9] และดำรงตำแหน่งเดิมต่อเนื่องทั้งในรัฐบาลเศรษฐา ทวีสิน[10] และแพทองธาร ชินวัตร[11]
วันที่ 29 ตุลาคม พ.ศ. 2567 เขาแต่งตั้ง นายวิเชียร จงชูวณิชย์ ผู้สมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดมหาสารคามดำรงตำแหน่งผู้ช่วยเลขานุการรัฐมนตรีว่าการ กระทรวงมหาดไทย
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
ทรงศักดิ์ ได้รับการเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมาแล้วทั้งสิ้น 9 สมัย
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป มีนาคม พ.ศ. 2535 จังหวัดบุรีรัมย์ สังกัดพรรคสามัคคีธรรม
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป กันยายน พ.ศ. 2535 จังหวัดบุรีรัมย์ สังกัดพรรคชาติไทย
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2538 จังหวัดบุรีรัมย์ สังกัดพรรคชาติไทย
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2539 จังหวัดบุรีรัมย์ สังกัดพรรคความหวังใหม่
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2544 จังหวัดบุรีรัมย์ สังกัดพรรคไทยรักไทย
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2548 จังหวัดบุรีรัมย์ สังกัดพรรคไทยรักไทย
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2550 จังหวัดบุรีรัมย์ สังกัดพรรคพลังประชาชน
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2562 แบบบัญชีรายชื่อ สังกัดพรรคภูมิใจไทย
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2566 แบบบัญชีรายชื่อ สังกัดพรรคภูมิใจไทย
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
- พ.ศ. 2547 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[12]
- พ.ศ. 2544 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[13]
อ้างอิง
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานยศกองอาสารักษาดินแดน, เล่ม ๑๓๗ ตอนที่ ๑๘ ข หน้า ๓, ๒ กรกฎาคม ๒๕๖๓
- ↑ 2.0 2.1 ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศคณะกรรมการการเลือกต้ง เรื่อง ผลการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ, เล่ม ๑๓๖ ตอนที่ ๖๒ ก หน้า ๑๓, ๘ พฤษภาคม ๒๕๖๒
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศนายทะเบียนพรรคการเมือง เรื่อง ตอบรับการเปลี่ยนแปลงกรรมการบริหารพรรคภูมิใจไทย, เล่ม ๑๓๑ ตอนที่ ๕๘ ง หน้า ๑๒๔, ๕ มิถุนายน ๒๕๕๘
- ↑ "นักการเมืองปริญญาเอก?!!". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-10-31. สืบค้นเมื่อ 2011-02-07.
- ↑ รายชื่อกรรมการบริหารพรรคพลังประชาชน ชาติไทย มัชฌิมาฯ[ลิงก์เสีย]
- ↑ "เปิดชื่อ 109 กก.บริหาร "พปช.-ชาติไทย-มัชฌิมาฯ" ถูกยุบ-เพิกถอนสิทธิเลือกตั้ง 5 ปี". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-08-18. สืบค้นเมื่อ 2011-06-10.
- ↑ แหยงกลุ่ม 16 ไม่กล้าแตะ ‘ราเกซ’[ลิงก์เสีย]
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศคณะกรรมการการเลือกตั้ง เรื่อง รายชื่อผู้สมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ, เล่ม ๑๓๑ ตอนที่ ๑๐ ก หน้า ๓๑, ๑๗ มกราคม ๒๕๕๗
- ↑ มท.2 และ มท.3 สักการะสิ่งศักดิ์สิทธิ์มหาดไทย นิพนธ์ ยัน ให้สอบคุณสมบัติ
- ↑ โปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง คณะรัฐมนตรี "เศรษฐา" นายกฯ ควบ "รมว.คลัง"
- ↑ ประกาศแต่งตั้งรัฐมนตรี ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 141 ตอนพิเศษ 240 ง วันที่ 4 กันยายน 2567
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย, เล่ม ๑๒๑ ตอนที่ ๒๓ ข หน้า ๒, ๒๖ พฤศจิกายน ๒๕๔๗
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย, เล่ม ๑๑๘ ตอนที่ ๒๒ ข หน้า ๗, ๔ ธันวาคม ๒๕๔๔
- บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2501
- บุคคลที่ยังมีชีวิตอยู่
- บุคคลจากจังหวัดบุรีรัมย์
- สกุลทองศรี
- นักการเมืองไทย
- สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดบุรีรัมย์
- สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยแบบบัญชีรายชื่อ
- พรรคสามัคคีธรรม
- พรรคความหวังใหม่
- พรรคชาติไทย
- พรรคพลังประชาชน (พ.ศ. 2541)
- พรรคภูมิใจไทย
- บุคคลจากโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย
- บุคคลจากคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง
- บุคคลจากมหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ป.ช.
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ว.ม.
- ผู้บังคับบัญชาและเจ้าหน้าที่กองอาสารักษาดินแดน